คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “เดรัจฉานทำบุญไม่ได้แน่หรือ
.. ถ้าได้ฟังใครเขาพูดว่า สัตว์เดรัจฉาน
ทำบุญไม่ได้นั้นไม่จริง อย่างเช่น “เอราวัณ
เทพบุตร” ท่านเป็นช้างของพระอินทร์ใน
สมัยที่เป็น “มาฆะมานพ” ใช้แบกไม้ ดึงไม้
ลากไม้ เอาไปสร้างศาลาเป็นสาธารณะ
ตายจากความเป็นช้างไปเกิดเป็นเทวดา
บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีนามว่า
“เอราวัณเทพบุตร”
“โกตุหริกะ” คนยากจนหนีภัยโรค
ระบาดไปสู่บ้านกฎุมพี ขอข้าวเขากิน ท่าน
กฎุมพีให้คนรับใช้เอาอาหารมาให้ ๒ ส่วน
ของโกตุหริกะส่วนหนึ่งและภรรยาส่วนหนึ่ง
ภรรยาให้สามีคือโกตุหริกะกินก่อนและเมื่อ
เห็นสามีกินหมดชามแล้วยังไม่พอ
เธอก็ส่งส่วนของเธอให้กินอีก ขณะที่
กินข้าวอยู่นั้น สุนัขตัวเมียที่ท่านกฎุมพี
เลี้ยงไว้ใกล้ชิด และท่านก็กำลังกินข้าวอยู่
กินข้าวมธุปายาสราคาแพงมาก ท่านแบ่ง
ใส่จานให้หมาตัวเมียที่น่ารักหมอบอยู่
ใกล้ๆ โกตุหริกะคิดในใจว่า “หมาตัวนี้
มันดีกว่าเราซึ่งเป็นคนมาก”
คำว่าข้าวมธุปายาสแม้แต่เศษของเล็บ
เข้าไปแตะก็ไม่เคยได้พบ เธอนึกในใจว่า
หมาตัวนี้มีบุญเหลือเกิน เธอกินข้าวหมด
ชามหลังจากนั้นเกิดอาการลมกำเริบ คือ
อาหารไม่ย่อย ขาดใจตายลงไปเวลานั้น
เมื่อขาดใจตายไปแล้ว “จิต (กายใน)”
หรือ “อทิสสมานกาย” ไม่ได้ตายไปด้วย
เมื่อสิ้นลมปราณลมหายใจหมดไปปั๊บ
กายในมันออกจากกายเนื้อเข้าสู่ครรภ์
ของนางสุนัขทันที ไม่นานก็คลอดออกมา
เป็นหมาโทน การที่ตายจากคนไปเกิด
เป็นสุนัข สุนัขประเภทนี้รู้ภาษาคนดีมาก
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ต่อไปว่า หลังจากที่เขาเกิดเป็นสุนัขแล้ว
เป็นสุนัขแสนรู้ที่ท่านคหบดีรักมาก เวลา
จะไปนิมนต์พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็นำ
เจ้าสุนัขแสนรู้ไปด้วย บางคราวก็ใช้สุนัข
ตัวนี้ไปนิมนต์แทน
การนิมนต์ของเธอก็เห่าบ้าง หอนบ้าง
แสดงสัญญาณ จุดใดที่เคยเห็นท่านเศรษฐี
คิดว่าจะมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่ และตีพุ่มไม้
ให้มันตกใจหนีไป สุนัขตัวนี้ก็จำไว้ เวลา
ไปเองตามลำพัง ไปถึงที่นั่นก็เห่าบ้าง
หอนบ้าง เป็นการกระโชกให้สัตว์ร้าย
หนีไป
ต่อมาเมื่อเวลาใกล้เข้าพรรษา
“พระปัจเจกพุทธเจ้า” ก็ไปลาท่านคหบดี
ขอไปจำพรรษาที่ภูเขาคันธมาส สุนัขตัวนี้
มันรักพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก มองดูพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าเหาะไป พอพ้นสายตาของ
มัน มันก็ขาดใจตายทันที
พอดีกับวาระของชีวิตเข้ามาถึง อาศัยที่
มีความเคารพรักจริงในพระปัจเจกพุทธเจ้า
จึงบันดาลให้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์
ชั้นดาวดึงสเทวโลก มีนามว่า “โฆษกเทพ
บุตร” รวมความว่า “สัตว์เดรัจฉานก็ทำบุญ
ได้ เทวดาหรือพรหมก็ทำบุญได้” ..
(พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
ที่มาจาก.. พ่อสอนลูก เล่ม ๑ หน้าที่ ๔๑๘-๔๑๙