พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) รวมธรรมะจากพระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ตอบ
สมัยก่อนหลวงพ่อฤๅษีท่านต้องไปเทศน์หลายจังหวัด ถ้าทางน้ำก็แจวเรือไป ทางบกถ้ามีเกวียนก็นั่งเกวียน ถ้าไม่มีก็เดินไป หรือบางทีก็นั่งเรือไปครึ่งค่อนทาง แล้วก็ขึ้นบกเดินตัดทุ่งไป ปรากฏว่าเส้นทางที่ท่านไปเทศน์ที่อ่างทอง จะต้องผ่านเพิงขายกล้วยทอดกล้วยแขก ท่านบอกว่าปีแรกผ่านไปตรงนั้นก็ไปขอน้ำเขาฉัน “โยมขอน้ำหน่อย” โยมเขาก็เอาน้ำมาถวาย ปีรุ่งขึ้นก็คืออีกปีหนึ่งถัดไป เพิงกล้วยแขกกลายเป็นตึกสองคูหา..!
หลวงพ่อไปถามเขาว่า “โยมทำอะไรถึงรวยขนาดนี้ ?” ถ้าสมัยนี้คงไม่แคล้วขายยาบ้า..! โยมบอกว่า “ได้ฤกษ์เศรษฐีมาจากหลวงพ่อที่วัดมาเปิดร้านเจ้าค่ะ” หลวงพ่อก็สอบถามจนมั่นใจ พอรู้ว่าหลวงพ่ออะไร อยู่วัดไหนก็ตามไป (อันนี้อาตมาไม่ได้ถามรายละเอียด) ตามไปเจอหลวงพ่อองค์นั้น หลวงพ่อฤๅษีก็ถามว่า “ท่านได้ฤกษ์นี้มาจากไหน ขอศึกษาตำรานี้ด้วยได้ไหม ?” หลวงพ่อองค์นั้นบอกว่า “ผมไม่หวงหรอก ผมก็ไม่รู้เหมือนกันฤกษ์นี้มีที่มาอย่างไร ?” ว่าแล้วก็ไปงัดตำรามาให้เป็นใบลานแผ่นเดียว มีอยู่แผ่นเดียว ข้างหน้าวันหนึ่ง ข้างหลังวันหนึ่ง แสดงว่าเขาเขียนหน้าละวัน แล้วหลวงพ่อท่านนั้นได้มาแค่นั้น หลวงพ่อฤๅษีท่านก็เลยขอจดทั้งหมด แล้วก็เลิกรับกิจนิมนต์จนกว่าจะหาฤกษ์นี้ที่เหลือเจอ
หลวงพ่อท่านเข้ามาหอสมุดแห่งชาติ ค้นกันหูดับตับไหม้จนกระทั่งเจอ แล้วท่านก็เอามาบอกต่อพวกเรา ท่านบอกว่าฤกษ์นี้ถ้าเอาไปทำงานทำการอะไรก็ตาม จะมีความเจริญคล่องตัวมาก เรียกว่า ฤกษ์พรหมประสิทธิ์ ก็คือฤกษ์ที่พระพรหมท่านให้มา
แต่คราวนี้ตอนที่หลวงพ่อบอกพวกเรานั้น ท่านบอกไม่ครบ นิสัยหลวงพ่อท่านเป็นคนช่างค้นคว้า หลวงพ่อท่านเรียนหนังสือนักธรรมตรี คนอื่นอ่านหนังสือแค่ ๔ เล่ม ได้แก่ เรียงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมวิภาค พุทธประวัติ และพระวินัย แต่หลวงพ่ออ่านหนังสือครึ่งห้อง..!! ท่านบอกว่าตำราอ้างอิงถึงเล่มไหน ท่านไปค้นอ่านจนหมด..!
ในเมื่อท่านชอบค้นคว้าขนาดนั้นท่านก็ค้นจนเจอ แต่ตอนบอกลูกศิษย์ท่านบอกไม่ครบ ท่านอยากรู้ว่ามีลูกศิษย์คนไหนชอบสงสัยค้นคว้าบ้าง แต่ปรากฏว่าทุกคนให้ความเคารพและไว้วางใจหลวงพ่อมาก ให้เท่าไรกูใช้แค่นั้น..!
__________________
……………………
เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง
จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-07-2010 เมื่อ 09:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 360 คน ได้กล่าว “อนุโมทนา” กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา
#2
เก่า 08-02-2009, 14:29
เถรี’s Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ – ยืนยันตัวตนแล้ว
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 25,837
ได้ให้อนุโมทนา: 108,001
ได้รับอนุโมทนา 4,206,861 ครั้ง ใน 29,381 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default
อาตมาเองแรก ๆ ก็สงสัยเหมือนกัน เพราะมีอยู่ฤกษ์หนึ่งหลวงพ่อท่านให้ฤกษ์ ๑๔ ค่ำวันศุกร์ อาตมาไปค้นดูแล้ว เป็นฤกษ์ที่เขาเรียกว่า วันสมตน แปลว่า เสมอตัว ทำแล้วไม่ดีไม่ชั่ว เจ๊ากันไป
กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ทำไมให้ฤกษ์นี้เขาไป หลวงพ่อบอกว่าบุญเขามีแค่นั้น ถามว่าแล้วให้ที่ดี ๆ ไปเลยไม่ได้หรือ ท่านบอกว่าถ้าเกินบุญเขาจะแย่ ก็สงสัยว่าแย่อย่างไรครับ ของดี ท่านบอกว่าเหมือนเราแบกข้าวสารได้ถังหนึ่ง แล้วเขาโยนมาให้กระสอบหนึ่ง เรารับไหวไหม ? ก็คงโดนทับตายเท่านั้น..!
หลวงพ่อก็สั่งไว้ด้วยว่าวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ ห้ามทำการมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น ตายละหว่า…แล้วคนที่วันเสาร์ที่เป็นวันลาภวันชัย จะไปทำมาหากินอะไรได้ ในเมื่อหลวงพ่อค้นได้ อาตมาก็เอาอย่างบ้าง ไปค้นจนเจอเหมือนกัน ถึงได้ทราบว่าในแต่ละฤกษ์นั้น จะมีสิทธิโชค มหาสิทธิโชค อมฤตโชค ราชาโชค
แล้วก็จะมีพวกฤกษ์สมตน กาลกิณี มรณะ เมื่อสรุปลงมาอย่างน้อยวันหนึ่งต้องมี ๓ ฤกษ์ ก็คือ สิทธิโชค มหาสิทธิโชค อมฤตโชค ฤกษ์เหล่านี้จะให้ผลในด้านดีเท่านั้น
__________________
……………………
ส่วนวันห้ามต่าง ๆ ขอให้จำไว้ด้วยว่า
– ถ้าขึ้นบ้านใหม่ให้เว้นวันอาทิตย์ โบราณถือว่าวันอาทิตย์เป็นวันร้อน
– ขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่เขาใช้ฤกษ์วันศุกร์ เดือนคู่ คือ เดือนยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ ข้างขึ้น เดือน ๑๒
เดือน ๘ ข้างแรม กับเดือน ๑๐ เขาไม่นิยมใช้กัน เพราะถือว่าอยู่ในพรรษา
– ถ้าหากว่าแต่งงานให้เว้นวันพฤหัสบดีกับวันเสาร์ ฤกษ์พวกนี้หลวงพ่อไม่ได้เจาะจง แต่อาตมาเป็นคนช่างจดและก็ช่างจำ หลวงพ่อบอกอะไรจะจดไว้หมด ท่านบอกว่าแต่งงานวันพฤหัสฯไม่เกิน ๓ ปี เลิกกันแน่ ถ้าแต่งงานวันเสาร์ชีวิตจะมีรสชาติมาก เพราะทะเลาะกันทุกวัน ให้เปลี่ยนไปแต่งวันอื่นซะ
– ถ้าหากว่าจะออกรถออกเรือใหม่ ให้ใช้ฤกษ์ออกวันพฤหัสฯแล้วเอาไปประเดิมวันอาทิตย์ หรือว่าออกวันอาทิตย์แล้วเอาไปประเดิมวันพฤหัสฯ อันใดอันหนึ่ง แต่อาตมานิยมให้ออกวันพฤหัสฯแล้วประเดิมวันอาทิตย์ เพราะระยะเวลาไม่ห่างกัน ถ้าออกวันอาทิตย์กว่าจะถึงวันพฤหัสฯ รอตั้ง ๕-๖ วัน
– วันเสาร์ ๕ ห้ามทำการมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นการพุทธาภิเษก
– วันศุกร์ขึ้นหรือแรม ๙ ค่ำ กับวันเสาร์ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ เป็นฤกษ์สร้างโบสถ์โดยเฉพาะ อย่าเอาไปสร้างบ้านหรือทำสิ่งอื่น
– ฤกษ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีชุดหนึ่งที่เรียกว่า ดิถีพิฆาต ไม่ใช่ไม่ดี แต่ดีเกินไป ไม่ควรใช้
__________________
……………………
หลวงพ่อบอกว่ามีหมอดูอยู่ท่านหนึ่ง อยู่บ้านโพธิ์นางดำ จังหวัดชัยนาท เอาฤกษ์สร้างบ้านวันศุกร์ขึ้น ๙ ค่ำ
หลวงพ่อท่านเห็นก็เตือน บอกว่าฤกษ์นี้เขาใช้สร้างโบสถ์อย่าสร้างบ้านเลย รายนั้นก็รั้น มั่นใจตำราของเขา บอกว่าในเมื่อดีขนาดสร้างโบสถ์ได้ ทำไมจะสร้างบ้านไม่ได้ หลวงพ่อบอกว่าถ้าโยมไม่เชื่อก็รอดูผลแล้วกัน เพราะว่าหลวงพ่อของฉัน(หลวงปู่ปาน) ว่ามาอย่างนี้ หมอดูท่านนั้นก็รับคำท้า
ปรากฏว่าบ้านหลังนั้นพอตั้งเสา ขึ้นเครื่องบน ยังไม่ทันจะมุงหลังคา ท่านบอกว่าพายุมากวาดบ้านหลังนั้นไปหลังเดียว ไม่แตะที่อื่นเลย หมอดูรายนั้นถึงได้ยอมเชื่อ
อาตมาอยากจะบอกกว่า พวกฤกษ์นี้ก็เหมือนกับการข้ามถนน ถ้าเราข้ามตอนรถว่างปลอดภัยแน่นอน แต่คนเก่ง ๆ รถมากก็ข้ามได้ เพียงแต่ประมาทไปหน่อย เผลอเมื่อไรจะโดนชนเดี้ยง ถ้าไม่เกินวิสัยถือฤกษ์ไว้หน่อยก็ดี
ฤกษ์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หลวงพ่อท่านบอกท่านห้ามไว้ แปลว่าแต่ละอย่างท่านโดนมาจนเข็ดแล้ว ไม่อยากให้พวกเราต้องไปทดลองด้วยตัวเอง ถ้าใครไม่เชื่อว่าหลวงพ่อโดนจนเข็ดแล้วอนุญาตให้ลองได้ เพราะว่าหลวงพ่อท่านชอบทดสอบมากกว่าพวกเราเยอะ
__________________
……………………
ฤกษ์ทั้งหลายเหล่านี้ พวกเราศึกษาไว้บ้างก็ดี เนื่องจากว่าถ้าอาตมาเป็นอะไรไป เราจะได้หาฤกษ์เป็น
ฤกษ์พรหมประสิทธิ์ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
อาตมาจะเรียง อมฤตโชค มหาสิทธิโชค และสิทธิโชค
วันอาทิตย์จะเป็นฤกษ์ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๑ ค่ำ
วันจันทร์ ๓ ค่ำ ๑๒ ค่ำ ๕ ค่ำ
วันอังคาร ๙ ค่ำ ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ
วันพุธ ๒ ค่ำ ๔ ค่ำ และ ๑๐ ค่ำ
วันพฤหัสบดี ๔ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ
วันศุกร์ ๑ ค่ำ ๑๐ ค่ำ ๑๑ ค่ำ
วันเสาร์ ๕ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๔ ค่ำ
ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นข้างแรม ไปค้นคว้าหาเอาเอง เผื่อว่าอาตมาจำผิด
อย่างปีนี้รีบ ๆ คิดปรากฏว่าพลาดไปครึ่งปี เลยต้องมาคิดวันใหม่ เนื่องจากว่าปีนี้เป็นปีประหลาด เขาเรียกอธิกวาร มีวันเพิ่ม ก็คือเพิ่มวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ มา ถ้าหากว่าเป็นปกติจะไม่มีแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗
เพราะว่าข้างแรมของเดือนที่เป็นเลขคี่ คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑ ปกติจะมีแค่แรม ๑๔ ค่ำ เท่านั้น แต่ปีนี้เดือน ๗ มีแรม ๑๕ ค่ำเพิ่มมาวันหนึ่ง
ถ้าหากว่าจะคิดตำราทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าขยันก็เอาอย่างอาตมา ไล่ขึ้นแรมไปทีละวัน ถ้าไม่ขยันก็ไปเปิดปฏิทิน ๑๐๐ ปีหรือ ๑๕๐ ปี แต่ว่าเท่าที่อาตมาตรวจดูปฏิทินก็มีผิด เล่มที่น่าจะรอบคอบมากที่สุด คือปฏิทิน ๑๕๐ ปีของห้องโหรศรีมหาโพธิ์ ที่หน้าปกขาว ๆ และมีสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินอยู่ตรงกลาง
ฤกษ์พรหมประสิทธิ์หรือว่าฤกษ์เศรษฐีของหลวงพ่อ ก็มีความเป็นมาและความเป็นไปด้วยประการฉะนี้
ใครไม่มั่นใจ เชิญถามกูได้..กูเกิ้ล..!
พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ ณ บ้านอนุสาวรีย์
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
__________________
……………………
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ แม่น้องพิมพ์-น้องแพร อ่านข้อความ
อยากทราบว่าใน ฤกษ์พรหมประสิทธิ์
จะมี สิทธิโชค มหาสิทธิโชค อมฤตโชค ราชาโชค ต่างกันอย่างไร
ผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ
ขออธิบายดังนี้นะครับ
หัวข้อ วันดี ดิถีมงคล ๕ ประการ โบราณถือกันมาก
๑.ดิถีอมฤตโชค วันไม่ตาย เป็นวันทิพย์ เป็นดิถีดีที่สุด เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานทั่วไปเกี่ยวกับความราบรื่นและสบาย ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตาม ข้างแรมก็ใช้ได้ ให้คุณเช่นกัน
๒.ดิถีมหาสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานสำคัญที่เป็นโครงการระยะสั้น ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ ตามข้างแรมก็ใช้ได้ ให้คุณเช่นกัน
๓.ดิถีสิทธิโชค วันให้ความสำเร็จ วันโชคดี วันให้ลาภผล เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่เป็นโครงการระยะยาว ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม แต่ที่นิยมถือกันว่าข้างขึ้น ดีกว่าข้างแรม แต่อย่างไรก็ตาม ข้างแรมก็ใช้ได้ ให้คุณเช่นกัน
๔.ดิถีชัยโชค วันแห่งชัยชนะ วันทำให้เกิดความภูมิใจ วันได้รับความสำเร็จจากการต่อสู้ เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องต่อสู้แข่งขันหรือรบทัพจับศึก ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
๕.ดิถีราชาโชค วันได้รับชัยชนะด้วยบารมี เป็นดิถีที่ดีรองลงมา เหมาะแก่การมงคล ดีสำหรับงานที่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
วันอมฤตโชค
อัษฎา สุริเยศแจ้ง จันทร์ตรี
ภุมเมศเก้า โดยมี กล่าวไว้
พุธสอง,สี่ ครูสี่ ศุกร์หนึ่ง
เสาร์ห้า อมฤตใช้ โชคล้วนศุภผล
จะประกอบพิธีอันใดย่อมเป็นกุศล ได้รับความสำเร็จทุกประการ
นี่เป็นเพชรเม็ดงามในการให้ฤกษ์เลยทีเดียว และใช้ได้ผลอย่างดีเยี่ยม
วันมหาสิทธิโชค
สิบสี่, ทวาทศ, ทั้ง สูรย์, จันทร์
ภุมเมศ สิบสามสรรพ์ เลิศล้วน
พุธสี่, เจ็ดชีว์วัน ศุกร์สิบ
เสาร์สิบห้าสิทธิถ้วน เที่ยงแท้มหาวัน
วันสิทธิโชค
สิบเอ็ดสุริยะ, เก้า วันครู
พุธทศ, สิบสี่ ภูม์เมศแผ้ว
จันทร์ห้า, สี่เสาร์ชู สิทธิโชค
ศุกร์สิบเอ็ดเพริศแพร้ว ผ่องแผ้วภัยพาล
ชื่อและความหมาย
อมฤตโชค คือ ความสำเร็จผล โชคดี
มหาสิทธิโชค คือ ความสำเร็จอันดียิ่ง
สิทธิโชค คือ ความสมปรารถนา
อภินันทการโดย อ.ฉกาจ กฤตภาสกฤษฎี
อ้างอิงจากตำราของ ท่านอาจารย์ธนกร สินเกษม
หมายเหตุ :
อัษฎ [อัดสะดะ] ว. แปด. (ส.; ป. อฏฺ?).
ภุม ๒, ภุม– ๑ [พุม, พุมมะ–] น. ดาวอังคาร; วันอังคาร. (ป. ภุมฺม; ส. เภาม).
ทวา [ทะวา] (แบบ) ว. สอง. (ป., ส. ทฺวา).
ทศ ๑, ทศ- [ทด, ทดสะ-]ทศ ๑, ทศ- [ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ.
ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
ชีว, ชีวะ [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
สูรย– [สูระยะ–] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ส.; ป. สุริย).
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด…ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว…
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน
อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เถรี อ่านข้อความ
ฤกษ์ทั้งหลายเหล่านี้ พวกเราศึกษาไว้บ้างก็ดี เนื่องจากว่าถ้าอาตมาเป็นอะไรไป เราจะได้หาฤกษ์เป็น
ฤกษ์พรหมประสิทธิ์ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม
อาตมาจะเรียง อมฤตโชค มหาสิทธิโชค และสิทธิโชค
วันอาทิตย์จะเป็นฤกษ์ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๑ ค่ำ
วันจันทร์ ๓ ค่ำ ๑๒ ค่ำ ๕ ค่ำ
วันอังคาร ๙ ค่ำ ๑๓ ค่ำ ๑๔ ค่ำ
วันพุธ ๒ ค่ำ ๔ ค่ำ และ ๑๐ ค่ำ
วันพฤหัสบดี ๔ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ
วันศุกร์ ๑ ค่ำ ๑๐ ค่ำ ๑๑ ค่ำ
วันเสาร์ ๕ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๔ ค่ำ
ใช้ได้ทั้งข้างขึ้นข้างแรม ไปค้นคว้าหาเอาเอง เผื่อว่าอาตมาจำผิด
อย่างปีนี้รีบ ๆ คิดปรากฏว่าพลาดไปครึ่งปี เลยต้องมาคิดวันใหม่ เนื่องจากว่าปีนี้เป็นปีประหลาด เขาเรียกอธิกวาร มีวันเพิ่ม ก็คือเพิ่มวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ มา ถ้าหากว่าเป็นปกติจะไม่มีแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๗
เพราะว่าข้างแรมของเดือนที่เป็นเลขคี่ คือ เดือนอ้าย เดือน ๓ เดือน ๕ เดือน ๗ เดือน ๙ เดือน ๑๑ ปกติจะมีแค่แรม ๑๔ ค่ำ เท่านั้น แต่ปีนี้เดือน ๗ มีแรม ๑๕ ค่ำเพิ่มมาวันหนึ่ง
ถ้าหากว่าจะคิดตำราทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าขยันก็เอาอย่างอาตมา ไล่ขึ้นแรมไปทีละวัน ถ้าไม่ขยันก็ไปเปิดปฏิทิน ๑๐๐ ปีหรือ ๑๕๐ ปี แต่ว่าเท่าที่อาตมาตรวจดูปฏิทินก็มีผิด เล่มที่น่าจะรอบคอบมากที่สุด คือปฏิทิน ๑๕๐ ปีของห้องโหรศรีมหาโพธิ์ ที่หน้าปกขาว ๆ และมีสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินอยู่ตรงกลาง
ฤกษ์พรหมประสิทธิ์หรือว่าฤกษ์เศรษฐีของหลวงพ่อ ก็มีความเป็นมาและความเป็นไปด้วยประการฉะนี้
ใครไม่มั่นใจ เชิญถามกูได้..กูเกิ้ล..!
พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ ณ บ้านอนุสาวรีย์
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ขอให้ข้อมูลไว้ที่นี้ ดังนี้
เมื่อปี ๒๕๕๗ นั้น เดิมปฏิทิน ๑๕๐ ปีที่ลงในเว็บระบุเป็นปี อธิกวาร มีวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
ซึ่งตรงกับสมุดปฏิทินฤกษ์พรหมประสิทธิ์ที่คณะสะพานบุญจัดทำขึ้น ตามที่พระอาจารย์ได้ให้ข้อมูลแต่แรก
แต่ปฏิทินโดยทั่วไป (รวมทั้งปฏิทิน ๑๐๐ ปีในเว็บ) ระบุปี ๒๕๕๗ เป็นปกติวาร ซึ่งวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘
ต่อมาภายหลังจึงเห็นว่า ปฏิทิน ๑๕๐ ปีในเว็บได้แก้ให้ตรงกับปฏิทินทั่วไป
ทำให้การระบุข้างขึ้น-แรม ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ ของสมุดปฏิทินของคณะสะพานบุญ
จะมีข้างขึ้น-แรม ล่ากว่าปฏิทินทั่วไปอยู่ ๑ วัน ซึ่งมีผลให้การกำหนดฤกษ์ยามต่างกัน
มาถึงปี ๒๕๕๙ นี้ ปฏิทินทั่วไปได้ระบุเป็นปีอธิกวาร ซึ่งวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
ส่วนสมุดปฏิทินคณะสะพานบุญ ระบุเป็นปกติวาร ซึ่งวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗
ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ จะเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘ ซึ่งตรงกันแล้ว
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด…ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว…
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน
อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑