ฝึกเข้าฌาน
แต่ว่าวิธีการแบบประเภทฉับพลันรีบร้อนนี่ นึกพั๊บให้อารมณ์จับทันที นี่ต้องฝึกให้คล่อง
อย่าไปห่วงการภาวนานานดี จิตเข้าถึงฌานเร็วน่ะดี
การฝึกเข้าฌานนี่ เขาต้องฝึกให้ไม่เสียเวลาแม้แต่ ๑ วินาที เริ่มจับพั๊บนี่ต้องเริ่มไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออกเลย ต้องฝึกตัวนี้
“เริ่มพั๊บจับอารมณ์จับภาพพระเลย”
ไม่สนใจกับลมหายใจเลย อันนี้ทำบ่อยๆ จับพั๊บเป็นฌาน ๔ ทันที
ไอ้ที่เราต้องเลี้ยงลมหายใจเพราะว่าจิตกำลังมันยังอ่อนอยู่ ใช่ไหม ต้องเลี้ยงลมหายใจให้จิตมันทรงตัว อันนี้ก็จำเป็นเหมือนกัน
“ก็ต้องฝึกอยู่ ๒ อย่าง คือจับลมหายใจไว้ให้จิตมันทรงตัว กับไม่สนใจลมหายใจเลย”
ถ้าพอไม่สนใจกับลมหายใจเลย มันคล่องตัวแล้วไม่ต้องสนใจจับมันเลย มันจับพั๊บให้ได้เลย จับพั๊บให้ได้เลย
พอจับพั๊บอารมณ์เป็นฌาน ๔ ทันที ก็เป็น ๒ แบบ
คือว่าถ้าอารมณ์ใจยังอ่อนก็ต้องคุมอารมณ์หายใจ แต่ว่าลมหายใจนี่ถ้าเราคุมไปๆพอถึงฌาน ๔ นี่มันจะไม่รู้สึกว่าเราหายใจ
นี่การฝึกไม่สนใจกับลมหายใจมันฝึกตั้งฌาน ๔ ทันทีนะ จับตัวปลาย เราลองซ้อมดู
มันไปไม่ไหวก็มาจับลมหายใจ จับไปจับมาพั๊บฉันไม่สนลมหายใจ จับภาพพระพุทธเจ้า ก็เราเห็นแล้วใช่ไหม
จับตรงนี้เราไม่สนใจกับลมหายใจ และประเดี๋ยวมันจะตก ตกลงมาจับลมหายใจก็ช่างมัน จิตก็จับพระพุทธรูปไว้ ภาพพระพุทธเจ้าอย่าให้เคลื่อน พอสบายดีฉันไม่สนใจแกอีก เล่นขึ้นๆ คล่องๆ แบบนี้ ไม่ช้าอารมณ์จิตมันจะชิน
พอจับพั๊บไม่สนใจกับลมหายใจเลย
ไอ้นั่นน่ะพอจับพั๊บทีไรเป็นฌาน ๔ ทุกที ตัวนี้แหละเราต้องการ ถ้าจิตเป็นแบบนั้น กำลังจิตมันก็เข้มข้นมันก็ตัดกิเลสง่าย
“ฌาน ๔ มันตัดกิเลสอย่างง่าย”
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
———————
จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ปีที่ ๓๓
ฉบับที่ ๓๗๗ หน้า ๘๘ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์