You are currently viewing “คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พระอานนท์บรรลุอรหันต์”

“คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พระอานนท์บรรลุอรหันต์”

คำสอนหลวงพ่อเรื่อง “พระอานนท์บรรลุอรหันต์
.. พระอานนท์ในเวลานั้นเมื่อได้ฟัง
เทศน์จากพระพุทธเจ้าจบแล้วท่านก็ได้
พระโสดาบัน นั่นหมายความว่าท่านมี
ความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระอริยสงฆ์อยู่แล้ว และเมื่อฟังเทศน์จบ
ท่านตั้งใจรักษาศีล
การเจริญกรรมฐานให้บรรลุมรรคผล
ก็เป็นของไม่หนัก และต้องเป็นเวลาที่ไม่
หนัก ต่อมาในกาลที่พระอานนท์จะสำเร็จ
พระอรหันต์ ตอนนี้เห็นชัดมาก ในเมื่อ
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระอานนท์ไว้
วันที่พระพุทธเจ้าทรงนิพพานเวลานั้น
พระอานนท์ไปยืนเกาะสลักประตูยืนร้องไห้
พระโสดาบันก็ร้องไห้เป็นนะ พ่อแม่สอน
มาตั้งแต่เด็กตั้งแต่เล็ก “คนที่ร้องไห้ไม่เป็น
ก็คือตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป” พระ
โสดาบันกับพระสกิทาคามียังร้องไห้
เวลานั้นพระอานนท์ไปยืนร้องไห้อยู่
ก็นึกเสียใจว่าตนเองติดตามพระพุทธเจ้า
มาเหมือนเงาตามตัว แต่ว่าวันนี้พระ
พุทธเจ้านิพพานเสียแล้ว เรายังเป็น
เสขะบุคคล
คำว่า “เสขะบุคคล” แปลว่า “บุคคล
ที่ยังต้องศึกษา” นั่นก็หมายความว่าพระ
โสดาบันต้องศึกษาเพื่อเป็นพระสกิทาคามี
พระอนาคามี และพระอรหันต์ ถ้าพระ
อรหันต์เขาเรียก “อเสขะบุคคล” คือคน
ที่ไม่ต้องศึกษา
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วใคร
จะสอนเราต่อ เมื่อพระอานนท์หายไป
พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้พระไปเรียกมา
พระก็เรียกมา พระพุทธเจ้าก็ถามว่า
อานนท์.. เธอร้องไห้ทำไม
พระอานนท์ก็บอกว่า เวลานี้องค์
สมเด็จพระจอมไตรจะนิพพานต่อไป
ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่มีใครสอน ยังเป็น
แค่พระโสดาบัน
พระพุทธเจ้าก็บอกว่า “อานันทะ ดูก่อน
อานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วพระ
ธรรมวินัยที่ตถาคตสอนไว้จะเป็นศาสดา
สอนเธอ” (คำว่าศาสดาแปลว่าครู) จะเป็น
ครูสอนเธอ และสำหรับอานนท์เองจะบรรลุ
อรหันต์คืนก่อนวันรุ่งขึ้นที่ “พระมหากัสสป”
จะทำสังคายนา
เวลานั้นพระมหากัสสปก็ไม่ได้อยู่ที่นั่น
ท่านบอกว่าสมมุติว่าวันพรุ่งนี้พระมหา
กัสสปจะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา คืน
วันนั้นแหละอานนท์จะบรรลุมรรคผลเป็น
พระอรหันต์พร้อมด้วยอภิญญา ๖ และ
ปฏิสัมภิทาญาณ
พอถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ วันรุ่งขึ้น
เขาจะทำปฐมสังคายนา พระทั้งหลาย
พระอรหันต์ทั้งหมดที่เป็นปฏิสัมภิทาญาณ
ก็ตักเตือนว่า อานนท์พรุ่งนี้เขาจะทำ
สังคายนาแล้วนะ ตอนนี้ท่านยังเป็น
พระโสดาบันอยู่ จงเร่งรัดการปฎิบัติ
พระอานนท์ก็ขยันใหญ่ นั่งบ้าง
นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง จงกรมบ้าง
ก็เป็นเวลาใกล้สว่างขึ้นมาแล้ว ก็รู้สึก
หนักใจตนเอง คิดในใจว่าเราคงจะ
เครียดเกินไป เอาอย่างนี้ดีกว่าขอนอน
สักประเดี๋ยวหนึ่ง
นอนคอยพระอรหันต์ เวลานี้เป็น
พระโสดาบันอยู่ยังคอยพระอรหันต์ จะมา
เมื่อไหร่ก็ช่าง “เมื่อคิดว่าจะนอนอารมณ์
ก็คลาย การตั้งใจก็ไม่เครียด อารมณ์ก็
เริ่มละแบบสบายๆ” การคลายตัวแบบนี้
ขอญาติโยมโปรดทราบว่าจะต้องทรงจิต
ใน “อุปจารสมาธิ”
พอเริ่มคลายอารมณ์หวังจะนอน
เอนกายลงไป หัวไม่ทันจะถึงหมอน เท้า
ซ้ายยกขึ้น เท้าขวายังหยั่งพื้นอยู่ ข้อศอก
แขนขวาถึงพื้นเตียง เป็นพระอรหันต์ตอน
นั้น ได้เป็นพระอรหันต์ท่าเหาะหรือท่านอน
แต่ตามบาลีท่านบอกว่า
พระอานนท์บรรลุอรหันต์ในท่า
อิริยาบถ ๔ จะนั่งก็ไม่ใช่ จะนอนก็ไม่ใช่
จะยืนก็ไม่ใช่ จะเดินก็ไม่ใช่ “เป็นตอนที่
อารมณ์จิตคลาย” ฉะนั้นการปฎิบัติของ
บรรดาท่านพุทธบริษัทก็เหมือนกัน
การกระทำของเราถ้าเร่งรัดเกินไป
เครียดเกินไปนี่มันไม่มีผล “มันจะมีผลก็
ต่อเมื่ออารมณ์จิตเริ่มเป็นสุข” พออารมณ์
เริ่มสบายๆ คลายเครียด มันจะได้กัน
ตอนนี้ ถ้าถามว่ารู้มาจากไหน
อาตมาขอยืนยันว่า “ตัวเองก็พบมา
แบบนั้น แต่ละจุดที่จะได้มา มันได้ตอน
จิตเบา” ถ้าเรานั่งเครียดตึงเป๋ง เคร่งสุด
หายใจเข้าหายใจออกรู้บ้างไม่รู้บ้าง
ทำจิตเครียดใช้ไม่ได้
พอเริ่มคลายตัวปั๊บขอพักสักประเดี๋ยว
หนึ่งค่อยว่ากันใหม่ ยังไม่ทันจะพัก จิตยัง
ไม่ทันจะเข้าถึงจุดพัก มันเอาตรงนั้น ฉะนั้น
การปฎิบัติขอบรรดาท่านพุทธบริษัทให้
เอาผลกันจริงๆ ก็ปฏิบัติตามผลที่บอกแล้ว
คือ “ทำแบบสบายๆ นะ ทำแบบไม่
หนัก” เวลา ๗ โมงเช้าฉันจะบูชาพระ เวลา
๒ ทุ่มหรือ ๓ ทุ่มหรือเวลานอน ฉันจะ
ภาวนาสัก ๑๐ ครั้ง เวลาเช้ามืดตื่นขึ้นมา
ฉันจะภาวนาสักนิดหนึ่ง
ถ้าถึงจุดนั้นเราทำ เราทำทุกวัน
“อย่าลืมว่าถ้าถึงจุดไม่ทำ ใจไม่สบายนั่น
ก็หมายถึงจิตเป็นฌาน จิตมีการทรงตัว”
บางท่านก็คิดว่าถึงเวลานี้จะถวายข้าวพระ
เวลานี้จะใส่บาตรให้กับพระ
จิตที่คิดว่าจะใส่บาตรหรือจะหาของ
มันเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นฌาน
ในจาคานุสสติกรรมฐาน แล้วถ้าคิดว่า
เราจะถวายกับพระ พระที่มาบิณฑบาต
เป็นพระสงฆ์นี่เป็นสังฆานุสสติ เป็นของ
ง่ายเหลือเกิน แต่มีอานิสงส์มาก
วิธีทำแบบง่ายๆ ก็คือทำให้เป็นปกติ
น่ากลัวครูจะขี้เกียจ สอนลูกศิษย์ให้ขี้เกียจ
แต่อย่าลืมนะว่าครูได้มาแบบขี้เกียจ ถ้า
สอนลูกศิษย์ขยันก็เลยหน้าครูไป ก็เป็น
อันว่าอันนี้เป็นวิธีปฏิบัติ ..
(พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
ที่มาจาก.. ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๒๗ หน้าที่ ๔๒-๔๕