โอวาท : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ
…” ถ้าจิตเราเข้าสู่ฌานละเอียด สมมุติว่า.. ทุกท่านได้มโนมยิทธิ เขาถือว่า.. เป็นฌานละเอียด
~ ฌานที่พึงได้ คือ การเคลื่อนไปของฌาน ๔.. ฌาน ๔ มี ๒ ระดับ คือ หยาบ กับ ละเอียด..
* ถ้าละเอียด มีการเคลื่อนไหวคล่องตัวดี วันนั้นเป็นฌาน ๔ ละเอียด.. ถ้าวันไหนมันฝืด วันนั้นเป็นฌาน ๔ หยาบ.. ถ้าหากว่า วันไหนไปไม่ได้เลย ก็แสดงว่า วัน นั้นจิตเข้าไม่ถึงฌาน ๔
~ ถ้าหากว่า.. วันไหนจิตเข้าไม่ถึงฌาน ๔ ก็มีวิธีแก้.. มันไปไม่ได้ เราก็ไม่ไป..
~ เราไม่ไป เราทำยังไง.. เราก็นั่งพิจารณา ตัดขันธ์ ๕ ตามอารมณ์ที่เรามีความเข้าใจ คือ.. คล่องในอารมณ์ไหน ก็ตัดอารมณ์นั้น
~ ถ้าตัดขันธ์ ๕ ไปไม่ไหว ก็จับลมหายใจ แล้วก็ภาวนาไปเฉย ๆ ทำจิตเป็นสุขให้สบาย ๆ ถือว่าได้เท่าไรเอาเท่านั้น
~ แต่ว่า.. ถ้าทำอย่างนี้ ดีไม่ดีประเดี๋ยวก็ไป อันนี้เป็นการแก้นะ แก้อารมณ์ที่เราใช้ มโนมยิทธิ ได้คล่องตัว
~ แต่บางวัน เกิดไม่คล่องขึ้นมา อาการไม่คล่องเกิดขึ้น ทางที่ดี ก็ควรพิจารณาว่า.. ตั้งแต่เช้าถึงตอนที่เราจะทำ มันมีอารมณ์ตอนไหนบ้าง ที่ขัดต่อคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
~ ถ้ารู้ว่า อารมมันขัด ก็หาทางตัด ด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ ทีนี้ ท่าทางที่ดี วันไหนคล่อง จิตก็เริ่มปั๊บ จิตก็เคลื่อนปุ๊บทันที นี่เราปล่อยวันเป็นวัน
* ฌานละเอียด ดีทั้งศีล ดีทั้งสมาธิ ดีทั้งปัญญา…”
( จากหนังสือ *ธัมมวิโมกข์* พ.ศ. ๒๕๖๔ ฉบับที่ ๔๘๑ หน้าที่ ๑๔๕ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )