กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง ก่อคือไม้ที่เราเอาขึงผ้าเวลาจะเย็บ หรือเมื่อก่อนที่แม่ๆ เฮาเอาขึงเสื้อเพื่อปักชื่อนักเรียนของเฮา
ระยะ เวลาการทอดกฐิน กำหนดให้ เริ่มจากวันออกพรรษา จนถึงวันลอยกระทง
วัดที่จะรับกฐินได้ ต้องมีพระอยู่จำพรรษา 5 รูปขึ้นไป ไม่นับพระน้อย(เณร)นะครับ
วัดหนึ่งรับกฐินได้แค่ 1 ครั้ง ต่อปีครับ
ประเภทของกฐิน
1.จุล กฐินหรือกฐินแล่น คือการทำผ้าจีวรเพื่อใช้ทอดกฐินให้เสร็จภายในวันเดียว ตั้งแต่การ ปั่นด้าย ทอ ย้อมสี ตัดเย็บเป็นจีวร ซึ่งต้องใช้คนเป็นจำนวนมาก ใช้ความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เดี๋ยวนี้หาดูยาก ถ้าอยากเห็นลองไปดูแถววัดป่าเป้า น่าจะมีนะครับเพราะทุกปีมี แต่ผมมะรู้ว่าปีนี้มีวันไหนนะครับ
2.มหากฐิน ก่อคือกฐินที่เราเห็นทั่ว ๆ ไป เฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนด ก่อนำผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารกฐินอื่น ๆ ตามแต่เจ้าของกฐินจะจัดหา เช่น มีด ขอบก (จอบ) เสียม ยารักษาโรค เป็นต้น
บางตำราท่านจะแบ่งกฐินออกเป็นแยกย่อยอีกเช่น
-กฐิน สามัคคี ลักษณะเหมือนมหากฐิน แต่จะมีหลายๆคนร่วมกันเป็นเจ้าภาพ บางทีก่อจัดหาเงินเพื่อสบทบในการ ก่อสร้างวิหาร เจดีย์ ต่างๆ ภายในวัดด้วย
-กฐิน ตกค้าง หรือกฐินโจร ซึ่งมักจะเป็นการทอดกฐินในวันสุดท้าย โดยอาจจะมีคนไปหาว่าวัดไหนยังไม่ได้กฐินก่อจะเข้าไปทอดกฐินแบบจู่โจม โดยทางวัดไม่รู้หรือเตรียมการล่วงหน้า เหมือนโจรบุกอย่างได้อย่างอั้น